ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
ความเป็นมาของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี เปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507 และนับจากบัดนั้นท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ จึงเปิดการแสดงให้นักเรียนและประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา ซึ่งอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ "ห้องฉายดาว" และ "ส่วนแสดงนิทรรศการรอบห้องฉายดาว"
ห้องฉายดาว เป็นห้องวงกลมขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20.60 เมตร หลังคาเป็นรูปโดม สูง 13 เมตร เพดานโดมเป็นแผ่นอะลูมิเนียม
พรุน ทาสีขาวเพื่อรับแสง ที่ฉายออกจากเครื่องฉายดาวปรากฏเป็นนดวงดาวในท้องฟ้าจำลอง คล้ายกับดวงดาวในท้องฟ้าจริง ความจุ 370 ที่นั่ง
ตรงกลางห้องตั้งเครื่องฉายดาวระบบเลนส์ของ Carl Zeiss ของบริษัทคาร์ล ไซซ์ ประเทศเยอรมนี
ศักยภาพของเครื่องฉายดาวของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา กรมการศึกษา นอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อสร้างขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ด้วยวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างแหล่งที่ดีให้เยาวชนได้ชุมนุมหาความรู้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการศึกษาวิชาดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โดยให้นักเรียนเรียนรู้จากของจำลองซึ่งคล้ายของจริง งบประมาณการก่อสร้างและดำเนินงานขั้นต้น จนสามารถเปิดแสดงให้ประชาชนได้ในปี พ.ศ. 2507
- ฉายดาวฤกษ์ได้ประมาณ 9,000 ดวง ขณะที่ตาเปล่าสามารถมองเห็นดวงดาวในท้องฟ้าได้ราว 2,000 ดวง
- ฉายดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง และแสดงการเคลื่อนที่ผ่านไปในกลุ่มดาวต่าง ๆ ได้ชัดเจน
- ฉายภาพกลุ่มดาวต่าง ๆ แสดงแนวทางช้างเผือก กระจุกดาว เนบิวลา กาแลกซี่บางแห่ง ดาวแปรแสง ดาวเทียม ดาวหาง ดาวตก เมฆ แสงรุ่งอรุณ แสงสนธยา แสดงการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา แสดงเส้นสมมุติต่าง ๆ ในท้องฟ้า เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นสุริยวิถี เส้นเมอริเดียน แสดงขั้วทรงกลมฟ้า และตำแหน่งที่แกนผ่านขั้วโลก จะชี้ไปในรอบ 26,000 ปี แสดงระบบสุริยะ โลกหมุนในอวกาศ ภาพฉายแสดง รอบทิศ แสดงพื้นผิวดวงจันทร์ ดาวอังคาร พื้นผิวขั้วน้ำแข็งของโลก
และจากการปรับปรุงใหม่ปี 2559 เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล ก็มีการเพิ่มเติมในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องฉายระบบดิจิตอล พร้อมทั้งยังปรับปรุงระบบเครื่องฉายดาวใน 2 ส่วน ได้แก่
1. ใช้เครื่องฉายภาพระบบคริสตี้ ซึ่งเป็นโปรเจคเตอร์ที่ดีที่สุด ด้วยมีความสว่างสูงและมีเลนส์ฉายภาพที่กว้างมากยิ่งขึ้น
2. ปรับระบบควบคุมโดยใช้ซอฟต์แวร์ digistar 5 ซึ่งมีความคมชัดสูงระดับ 4K สามารถฉายดาวและภาพยนตร์ได้ ถือได้ว่าเป็นเทค
โนโลยีที่ใหม่ที่สุดในประเทศไทยเลยทีเดียว
การแสดงในห้องฉายดาว
วันจันทร์-วันศุกร์ มีการแสดง 2 รอบ คือ เวลา 11.00 น. และ 14.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ 4 รอบ คือ เวลา 11.00 น., 13.00 น., 14.00 น. และ 15.00 น.
อัตราค่าเข้าชม
เด็ก/นักเรียน/นักศึกษา/ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี 20 บาท/คน
ผู้ใหญ่ 30 บาท/คน
พระภิกษุ-สามเณร ชมฟรี